แหล่งเรียนรุ้

วัดขุนอินทประมูล



ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

วัดขุนอินทประมูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 50 เมตร (25 วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหาร แต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนนานนับเป็นร้อย ๆ ปี องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. 2296 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ในปี พ.ศ. 2221 และ พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ. 2516 และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2518 พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจนอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน และผนังบางส่วนและพระพุทธรูป ด้านหน้าพระนอนมีศาลรูปปั้น ขุนอินทประมูล ซึ่งตามประวัติ กล่าวว่าเป็นผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์
ค้างคาวแม่ไก่วัดจันทาราม



ค้างคาวแม่ไก่วัดจันทาราม วัดจันทารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลโคกพุทรา ในบริเวณวัดแห่งนี้มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นจึงเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ค้างคาวแม่ไก่ และนกนานาชนิดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ค้างคาวแม่ไก่นี้จะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะเกาะห้อยหัวอยู่ตามกิ่งไม้เป็นสีดำพรืดมองเห็นแต่ไกลซึ่งผู้สนใจสามารถจะไปชมได้ในทุกฤดูกาล

หมู่บ้านจักสานบางเจ้าฉ่า


หมู่บ้านจักสาน งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นฝีมือของชาวอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสานเครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ แหล่งหัตถกรรมเครื่องจักสานที่สำคัญได้แก่ "บางเจ้าฉ่า" ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า แหล่งหัตถกรรมจะตั้งอยู่บริเวณหลังวัด ที่นี่เป็นแหล่งเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำ จักสานให้มีปริมาณมากขึ้น ก่อนที่จะมีปัญหาการขาดแคลน งานจักสานของบางเจ้าฉ่านี้มีความประณีตสวยงามเป็นพิเศษ และสามารถพัฒนางานฝีมือตามความนิยมของตลาด จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ
พระตำหนักคำหยาด


พระตำหนักคำหยาด อยู่ในท้องที่ตำบลคำหยาด ถัดจากวัดโพธิ์ทอง ไปทางทิศตะวันตก ตัวอาคารก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร สภาพปัจจุบันมีเพียงผนัง 4 ด้าน แต่ยังคงเห็นเค้าความสวยงามทางด้านศิลปกรรม เช่น ลอดลายประดับซุ้มจรนำหน้าต่าง ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ. 2451 ได้เสด็จมายังโบราณสถานแห่งนี้และทรงมีพระราชหัตถเลขาอรรถาธิบายไว้ว่า เดิมทีทรงมีพระราชดำริว่า ขุนหลวงหาวัด (เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต) ทรงผนวชที่วัดโพธิ์ทองแล้วสร้างพระตำหนักแห่งนี้ขึ้นเพื่อจำพรรษา เนื่องจากมีชัยภูมิที่เหมาะสม ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นตัวพระตำหนักสร้างด้วยความประณีตสวยงามแล้วพระราชดำริเดิมก็เปลี่ยนไป ด้วยทรงเห็นว่าไม่น่าที่ขุนหลวงหาวัดจะทรงมีความคิดใหญ่โต สร้างที่ประทับชั่วคราวหรือที่มั่นในการต่อสู้ให้ดูสวยงามเช่นนี้ ดังนั้น จึงทรงสันนิษฐานว่า พระตำหนักนี้คงจะสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เพื่อเป็นที่ประทับแรมเนื่องจากมีพระราชนิยมเสด็จประพาสเมืองแถบนี้อยู่เนือง ๆ เช่นเดียวกับที่พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างที่ประทับไว้ที่บางปะอิน ขณะที่กรมขุนพรพินิตผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐ์ ได้ทรงนำข้าราชบริพารกับพระภิกษุที่จงรักภักดีต่อพระองค์ ออกจากพระนครศรีอยุธยามา จำพรรษาที่ วัดโพธิ์ทอง และประทับอยู่ที่พระตำหนักคำหยาดนี้เพื่อไปสมทบกับชาวบ้านบางระจัน

วังปลาวัดข่อย



วังปลาวัดข่อย อยู่บริเวณแม่น้ำน้อยหน้าวัดข่อย หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์รังนก ปลาที่วัดข่อยนี้มีปริมาณชุกชุมมาตั้งแต่สมัยพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อเข็ม) เป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2528 พระครูสรกิจจาทร เจ้าอาวาสองค์ ได้ปรับปรุงสถานที่ และประกาศ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำร่วมกับสำนักงานประมงอำเภอโพธิ์ทองและเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลรักษามิให้ปลาถูกรบกวน ปัจจุบันมีปลานานาพันธุ์ อาศัยอยู่รวมกันไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัว
วัดโพธิ์ทอง



วัดโพธิ์ทอง อยู่ที่บ้านโพธิ์ทอง ตำบลคำหยาด  ห่างจากอำเภอเมืองไปตาม เส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 9 กิโลเมตร ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าวัดโพธิ์ทองเป็นวัดที่กรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร หรือขุนหลวงหาวัด) เสด็จมาผนวช วัดแห่งนี้ รัชกาลที่ 6 เคยเสด็จมาประทับร้อนเมื่อคราวเสด็จประพาสลำน้ำน้อย ลำน้ำใหญ่ มณฑลกรุงเก่า เมื่อ พ.ศ. 2459
                                              วัดจุฬามณี




วัดจุฬามณี สันนิษฐานว่าสร้างภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาปีพ.ศ. 2310 โดยพระภิกษุรูปหนึ่งที่หนีภัยพม่ากลับมาได้ วิหารมีฐานโค้งสำเภาเจดีย์สูง 38 เมตร ถือว่าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในอ่างทอง ศาลาการเปรียญจตุรมุขสร้างด้วยไม้ ฝีมือช่างท้องถิ่น มีขนาดใหญ่ หากได้สัดส่วนงดงาม
วัดท่าอิฐ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2304 บริเวณที่ตั้งเดิมเข้าใจว่าเป็นที่ปั้นเผาอิฐนำไปก่อสร้างวัดขุนอินทประมูล นับว่าเป็นสถานที่ขนอิฐหรือท่าขนอิฐ และเมื่อได้สร้างวัดขึ้นจึงขนานนามว่าวัดท่าอิฐ พระประธานในอุโบสถชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อเพ็ชร” พระประธานในวิหารชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา ประมาณกว่า 200 ปีมาแล้ว ประดิษฐานอยู่ในวิหารมหาอุต เมื่อเข้าไปในวัดจะมองเห็น พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง โดดเด่นสีทองอร่าม
วัดท่าอิฐ(เจดีย์ศรีโพธิ์ทอง)
วัดท่าอิฐ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2304 บริเวณที่ตั้งเดิมเข้าใจว่าเป็นที่ปั้นเผาอิฐนำไปก่อสร้างวัดขุนอินทประมูล นับว่าเป็นสถานที่ขนอิฐหรือท่าขนอิฐ และเมื่อได้สร้างวัดขึ้นจึงขนานนามว่าวัดท่าอิฐ พระประธานในอุโบสถชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อเพ็ชร” พระประธานในวิหารชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา ประมาณกว่า 200 ปีมาแล้ว ประดิษฐานอยู่ในวิหารมหาอุต เมื่อเข้าไปในวัดจะมองเห็น พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง โดดเด่นสีทองอร่ามมูลเหตุของการสร้างพระธาตุเจดีย์เนื่องจาก ราวพุทธศักราช 2535 พระครูสุคนธศีลคุณ(หลวงพ่อหอม) มีดำริจะสร้างเจดีย์ขึ้นในบริเวณวัด มีความกว้าง 40 เมตร สูง 73 เมตร รูปแบบศิลปะลังกา-อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ลักษณะเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม มีองค์ระฆังและปล้องไฉน 32 ปล้อง เพื่อทดแทนเจดีย์หลังเดิม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอุโบสถที่ผุพังไปตามกาลเวลาและเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระศอของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประดิษฐานในพระเจดีย์เป็นสมบัติของศาสนาและเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระองค์ที่สั่งสอนสัตว์โลกจนเพียบพร้อมไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ปฏิบัติ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนสามารถบรรลุคุณธรรมตามความสามารถของแต่ละบุคคล
ต่อมาราวพุทธศักราช 2538 พระคุณสุคนธศีลคุณได้ทราบอาการพระประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นช่วงที่กำลังเริ่มก่อสร้างเจดีย์ ด้วยความห่วงใยในพระองค์ท่าน หลวงพ่อหอมได้ตั้งสัจจาธิษฐานว่า ขอให้ในหลวงทรงหายจากอาการพระประชวร ถ้าเป็นไปดังสัจจาธิษฐาน จะสร้างเจดีย์ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระองค์ท่าน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเจดีย์ว่า “พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2543
ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปวัดท่าอิฐ
วัดท่าอิฐ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าอิฐ ตำบลบางพลับ ไปตามทางหลวงหมายเลข 3064 กิโลเมตรที่ 7-8

คำขวัญ
หลวงพ่อขุนอินท์อันศักดิ์สิทธิ์
ทั่วทิศเครื่องจักสาน
โบราณสถานตึกคำหยาด
ปลาดื่นดาษหน้าวัดข่อย
เจดีย์สูงลอยวัดจุฬามณี

กิจกรรมการอ่านออนไลน์ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 42

  ห้องสมุดประชาชน”เฉลิมราชกุมารี”อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 42 อ่านแล้วตอ...