บทความ

ประเพณีลงแขก
ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หมายถึง การที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให่รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้


 


ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวนี้เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจของคนไทยที่มีการ่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่บ้านได้อีกด้วย นอกจากนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรมและการขับร้องเพลงอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม



                                                              ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

               บายศรี หมายถึง ข้าวอันเป็นสิริ ข้าวขวัญ ภาชนะใส่เครื่องสังเวยในพิธีทำขวัญ
               ขวัญ หมายถึง นามธรรมอันหนึ่งคล้ายพลังจิตที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ตั้งแต่เป็นเด็กทารก มีความเชื่อว่าถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัวผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจแต่ถ้าขวัญของผู้ใดหายไปนั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้ามพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญจะช่วยทำให้ขวัญมั่นคงและมีพลังใจเข้มแข็ง
               การบายศรีสู่ขวัญ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ทำพิธีเพื่อเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว ให้ขวัญเป็นเหมือนผู้ที่คอยดูแลประคับประคองชีวิตให้มีจิตใจเข้มแข็งมีความปลอดภัย
การบายศรีสู่ขวัญ จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งจะจัดในงานมงคลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ บวช แต่งงาน งานต้อนรับ งานเลื่อนยศ การย้ายที่ เป็นต้น
               พิธีกรรมจะต้องมี บายศรี เย็บด้วยใบตอง 3 ชั้น และมีสิ่งอื่นๆ คือ
                      ดอกบัว หมายถึง บัวประเภทที่ 4 ที่ พ้นจากผิวน้ำ 
                      เทียนชัย หมายถึง แสงสว่างส่องทางปัญญา 
                      น้ำมะพร้าวอ่อน หมายถึง น้ำใจอันบริสุทธิ์
                      แว่นเทียน 3 อัน หมายถึง ภพทั้ง 3 คือ ภาพภพ รูปภพ อรูปภพ
                     เทียน 9 เล่ม หมายถึง ไฟ 3 กอง โดยแบ่งเป็น ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ โดยติดไว้อย่างละ 3 เล่ม
                     สายสิญจน์ หมายถึง ห่วงแห่งความผูกพัน
                     ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ หมาก พลู บุหรี่ อาหาร ข้ามต้ม ขนมหวาน ไก่ต้ม สุรา
                     พิธีบายศรีสู่ขวัญ เริ่มโดยการแห่เป็นขบวนแล้วนำพานบายศรีมาตั้งบนโต๊ะ หรือตั่งที่ปูผ้าขาว จากนั้นพราหมณ์จะเป็นผู้สวดชุมนุมเทวดาจุดเทียน เวียนหัว หลังจากนั้นจะจุดธูป กราบพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้สวดจะเชิญขวัญ และให้เจ้าของขวัญจับพานขวัญ ส่วนคู่สู่ขวัญเอามือขวาจับด้ายสายสิญจน์ ผู้สวดอวยพร ผูกข้อมือเป็นอันว่าเสร็จพิธีการ 
                      ประเพณีการบายศรีสู่ขวัญ อาจจะมีพิธีการแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละท้องถิ่น แต่ละภาคหรือตามแต่ละประเภทของงานที่จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ




 ประเพณีทำขวัญข้าว


ประเพณีทำขวัญข้าว เป็นประเพณีและพิธีสำคัญของชาวนา เพื่อเป็นการขอบคุณแม่โพสพ (เทวดารักษาข้าว) ที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา เมื่อชาวนาเกี่ยวข้าวแล้ว จะเหลือข้าวไว้ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นขวัญข้าว และไปเกี่ยวข้าวที่เหลือนำเข้าบ้านเป็นการเชิญแม่โพสพ โดยผู้เฒ่าผู้แก่จะเป็นผู้ทำพิธีเชิญขวัญข้าว และเจ้าของยุ้งข้าวจะต้องไปจับที่ยุ้งและพูดว่า “เต็มยุ้ง เต็มยุ้ง”

การรับขวัญข้าวจะมี 2 พิธี คือ

รับขวัญข้าวจากนามาเข้าลาน มีการกล่าวอัญเชิญแม่โพสพด้วย

รับขวัญข้าวเข้ายุ้ง เป็นการนำข้าวมาเก็บเข้ายุ้งไว้ขายไว้กิน ผู้เฒ่าผู้แก่จะเป็นคนทำพิธี และจะต้องไม่พูดกับใครเลย เก็บรวงข้าวที่ตกหล่นในนาแล้วกล่าวเชิญแม่โพสพเข้าลาน ผู้เชิญจะพูดกับแม่โพสพเท่านั้น โดยพูดแต่ สิ่งที่ดี พูดไปจนมาถึงยุ้งแล้วเอาข้าวที่เก็บมาเข้ายุ้ง เป็นอันเสร็จพิธี



โครงการส่งเสริมการอ่านสู่ชุมชน ห้องสมุดเคลื่อนที่สู่ชุมชน ณ โรงเรียนวัดสามประชุม

  วันที่ 1 สิงหาคม 2567 นางสาวกุหลาบ อ่อนระทวย ผู้อำนวยการ สกร.ระดับอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง มอบหมายให้ นางสาวมะลิ จุ้ยกง บรรณารักษ์ชำน...